ประวัตินักวิทยาศาสตร์และผลงานของนักวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

แมกซ์ แพลงค : Max Planck

ไม่มีความคิดเห็น :



เกิด        วันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1858 ที่เมืองคีล (Kiel) ประเทศเยอรมนี (Germany)
เสียชีวิต วันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1947 ที่เมืองกอตติงเกน (Gottingen) ประเทศเยอรมนี (Germany)
ผลงาน   - ผู้ค้นพบทฤษฎีควอนตัม (Quantum Physics)
             - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
        แพลงคเกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1858 ที่เมืองคีล ประเทศเยอรมนี บิดาของเขาเป็นทนายความ และศาสตราจารย์ประจำ
ภาควิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่มหาวิทยาลัยคีล (Kiel University) ชื่อว่า จูเลียต วิลเฮล์ม แพลงค (Juliet Wilhelm Planck)
เมื่อเขาอายุได้ 9 ปี ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค (Munich) เนื่องจากบิดาต้องย้ายไปทำงานที่นั่น ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ
ประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนแมกซิมิเลียม ยิมเนซียม (Maximiliam Gymnasium) แต่เรียนอยู่
ได้ไม่นานนักก็ต้องลาออก เนื่องจากบิดาของเขาต้องย้ายไปทำงานที่เมืองเบอร์ลิน (Berlin) เมืองหลวงของประเทศเยอรมนี
ต่อจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ทฤษฎี ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค (Munich University) หลังจากจบการศึกษาเขาได้เข้า
ศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (Berlin University)

         หลังจากจบการศึกษาแล้ว ในปี ค.ศ.1885 มหาวิทยาลัยคีลได้ตกลงกับแพลงคเข้าเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีในระหว่าง
นี้แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับพลังงานเรื่องธรรมชาติของพลังงาน และเอนโทรปี (Entropy) และได้ส่งผลงานการค้นคว้า
เกี่ยวกับธรรมชาติของพลังงานเข้าประกวดที่เมืองกอตติงเกน (Gottingen) และได้รับรางวัลที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ.1889 เขาย้าย
ไปสอนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินแทนกุลสตาฟ เคิร์กชอฟ ศาสตราจารย์ที่เสียชีวิตไป พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์
แพลงคได้ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จนกระทั่งปี ค.ศ.1926

         ในปี ค.ศ.1900 แพลงคได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิค (Thermo dynamic) ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับ
มอบปริญญาเอก ต่อจากนั้นเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการแผ่รังสีของวัตถุ แพลงคพบว่าเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นมักจะเปลี่ยนสี
เช่น เมื่อโลหะได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นเมื่อวัตถุถูกทำให้ร้อนขึ้นย่อมแผ่รังสีความร้อนออกไป แพลงคได้ทำ
การทดลองต่อไป เพื่อค้นหาลักษณะของรังสีที่แผ่นออกมา แพลงคพบว่ารังสีจะแผ่ออกมาเป็นระยะ ๆ และเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียก
ว่า ควอนตัม ไม่ได้ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาเขาได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีควอนตัม เขาได้นำผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตัม
เสนอต่อสมาคมฟิสิกส์แห่งเบอร์ลิน เมื่อทฤษฎีของเขาเผยแพร่ออกไปแล้ว แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าไรนัก จนกระทั่งปี ค.ศ.1906
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้นำทฤษฎีของแพลงคมาอธิบายประกอบดับทฤษฎีโฟโตอิเล็กทริค เอฟเฟค (Photoelectric Effect) และ
ในปี ค.ศ.1913 นีลส์ บอร์ ได้นำทฤษฎีนี้มาอธิบายประกอบทฤษฎีอะตอมของเขา และจากการค้นพบทฤษฎีควอนตัม ในปี ค.ศ.1918
แพลงคได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกในสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น ราชบัณฑิตยสภา
(Royal Institute) และสมาคมฟิสิกส์แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

         ต่อมาในปี ค.ศ.1930 แพลงคได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งประธานของสมาคมไกเซอร์วิลเฮลืฒแห่งเบอร์ลิน ต่อมาสามาคมนี้
ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมแมกซ์ แพลงค (Max Planck Societyป เพื่อเป็นเกียรติให้กับเขา ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งนี้
เขาได้ริเริ่มให้ออกวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่งชื่อ Annalen der Physik เพื่อเผยแพร่ผลงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
ของทางสมาคมให้สาธารณชนได้รับรู้

         แพลงคได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองกอตติงเกน ในปี ค.ศ.1945 และหลังจากนั้นอีก 2 ปี เขาก็เสียชีวิตในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1947

เพลโต : Plato

ไม่มีความคิดเห็น :



เกิด        427 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) ประเทศกรีซ (Greece)
เสียชีวิต 347 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) ประเทศกรีซ (Greece)
ผลงาน   - ตั้งโรงเรียนชื่อ อะเคดามี (Academy)
        แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมานานกว่า 2,500 ปีแล้ว แต่หลักการปรัชญาของเพลโตก็ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของการศึกษา ด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาจิตวิทยา ธรรมชาติ หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์ เพลโตเป็นนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์
ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก อีกทั้งท่านยังเป็นอาจารย์ของนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกอย่าง อาริสโตเติล
เพลโตเป็นนักปรัชญาที่วางรากฐานทางการศึกษาวิชาต่าง ๆ ไว้มากมาย เช่น การปกครอง วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น

          เพลโตเกิดเมื่อ 427 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในครอบครัวที่มั่งคั่งและเก่าแก่ครอบครัวหนึ่ง บิดาของ
เพลโตมีชื่อว่า อริสตัน (Ariston) ส่วนมารดาของเขาชื่อว่า เพริเทียน (Peritione) บิดาของเขาเป็นเพื่อนสนิทกับโสเครตีส
(Cosrates 399 - 469 BC.) ซึ่งเป็นนักปรัชญ์ชาวกรีกที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง และเป็นลูกศิษย์ของปีทาโกรัส (Pythagoras)
ในเวลาต่อมาเพลโตได้ศึกษาวิชาการด้านต่าง ๆ กับโสเครตีส ทำให้เขามีแนวความคิดคล้ายกับนักปราชญ์ทั้งสองมาก เพลโตเกิด
ขึ้นมาภายใต้ความวุ่นวายทางการเมืองของกรีซ เนื่องจากเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างชาวสปาร์ตา(Sparta) และชาวนคร
เอเธนส์ สงครามครั้งนี้ยุติลงด้วยชัยชนะของชาวสปาร์ตา ทำให้ชาวนครเอเธนส์ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้เพลโต
มีแนวความคิดต่อต้านการเมืองอย่างรุนแรง เขาจึงมุ่งมั่นอยู่กับการศึกษาและได้รับการศึกษาขั้นต้นเช่นเดียวกับลูกผู้ดีมีเงินทั้งหลาย
คือ เรียน ปรัชญา ดนตรี บทกวี และวาทศิลป์ จากอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ของเฮราไคลตุส (Heraclitus) นักปรัชญาชาว
กรีกที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง ต่อมาเพลโตได้ไปศึกษาต่อในวิชาขั้นที่สูงขึ้นไปอีกกับโสเครตีส

          ในระหว่างนั้นความเป็นไปในนครเอเธนส์ล้วนมีแต่ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อของศีลธรรม การเมือง และอาชญากรรม เพลโต และโสเครตีสจึงได้ร่วมมือกันที่จะขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โสเครตีสต้องถูกประหารชีวิตเสียก่อน เนื่อง
จากรัฐบาลต้องการกำจัดบุคคลผู้ที่มีความคิดต่อต้านรัฐบาล ทำให้อุดมการณ์ทางการเมืองของเพลโตต้องหยุดชะงักไปชั่วเวลาหนึ่ง
และเดินทางออกจากกรุงเอเธนส์ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ นานกว่า 10 ปี แต่ในที่สุดเขาได้เดินทางกลับกรุงเอเธนส์ และดำเนิน
การด้านการเมืองต่อไป หลังจากที่ออกจากกรุงเอเธนส์ไปแล้ว เพลโตได้เดินทางไปที่เมืองเมการา เพื่อไปหายูคลิด (Euclid)
เพลโตได้พักอยู่กับยูคลิดเป็นเวลานาน อีกทั้งยังได้ร่วมมือกันตั้งโรงเรียนขึ้นมาแห่งหนึ่งชื่อว่า สำนักปรัชญาเมการิก โดยได้
ร่วมกับนักปรัชญาอีกท่านหนึ่งนามพาร์มีนิดิส (Parminides) ทำให้เพลโตได้ศึกษาหลักปรัชญาจากพาร์มีนิดิสได้อย่างลึกซึ้ง

         ต่อจากนั้นเพลโตได้ออกเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ อีกหลายเมือง เช่น อิตาลี อียิปต์ ไซรานี และซิซิลี เป็นต้น ในระหว่างนี้
เขาได้ศึกษาหาความรู้จากสำนักที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น เขาได้เข้าศึกษาที่สำนักปีทาโกเรียน (Pythagorean) ของปีทาโกรัส
ที่อิตาลี ส่วนที่เกาะซิซิลี เพลโตได้เข้าศึกษา ณ สำนักของพระเจ้าไดโนซีอุสที่ 1แห่งไซราคิวส์ (King Dionysius I of
Syracuse) นอกจากจะศึกษาหาความรู้แล้ว เพลโตยังได้เผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาของเขาให้กับคนทั่วไปได้รับรู้ โดยการ
ไปบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง แต่เพลโตกลับถูกต่อต้านและส่งผลร้ายกลับมาสู่ตัวของเขา คือ เขาถูกจับไปขายเป็นทาส
แต่โชคดีที่เพื่อนของเขาผู้หนึ่งได้ไปไถ่ถอนตัวเขาออกมา หลังจากที่เพลโตได้เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เป็นเวลานานหลายปี อีกทั้ง
เขาก็ได้ศึกษาหาความรู้จนมีความเชี่ยวชาญในวิชาการต่าง ๆ หลายสาขา ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจเดินทางกลับกรุงเอเธนส์ อีกครั้ง
หนึ่ง

          เมื่อเพลโตเดินทางมาถึงกรุงเอเธนส์ ประมาณ 387 ก่อนคริสต์ศักราช เขาได้ตั้งโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่งที่กรุงเอเธนส์ชื่อว่า
อะเคดามี (Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับวิชาปรัชญา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อีกทั้งเขายังได้สร้างสวนเพื่อ
ออกกำลังกายสำหรับนักศึกษาในอะเคดามี เพราะหลักการในการเรียนการสอนของเพลโตมีอยู่ว่า ความรู้ทางการบริหาร วรรณคดี
และดนตรี เป็นการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งเป็นรากฐานของการศึกษาวิชาปรัชญาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชา
ในขั้นสูงต่อไป ส่วนการเรียนการสอนในสถาบันแห่งนี้ก็ทันสมัยต่างจากการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมของกรีซ ที่ลูกศิษย์มีหน้าที่นั่ง
ฟังแต่เพียงอย่างเดียว เชื่อในสิ่งที่ครูบอกทั้งหมด ห้ามโต้แย้งอย่างเด็ดขาด แต่เพลโตได้ใช้วิธีการตั้งคำถามเพื่อให้ลูกศิษย์มีโอกาส
ได้พูด ใช้เหตุผลในการตอบคำถาม และค้นคว้าหาความจริงด้วยตนเอง การสอนแบบนี้ของเพลโตได้นำมาจากโสเครตีส อาจารย์
ของเขานั่นเอง โรงเรียนของเพลโตแห่งนี้มีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้สถาบันอะเคดามีของเพลโต
ยังได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกอีกด้วย

          การทำงานของเพลโตในสถาบันอะเคดามี เป็นไปได้ด้วยดี และในระหว่างนี้เขายังได้ศึกษาหาความรู้หลายด้านทั้งปรัชญา
จิตวิทยา ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้รวบรวมแนวความคิดของนักปรัชญาทั้งหลายเพื่อใช้สอนในสถาบัน และก็ได้ตั้งหลักปรัชญาขึ้นมาใหม่อีกหลายอย่าง โดยงานของเพลโตสามารถแบ่งออกมาได้ถึง 3 ระยะ คือ

          ระยะแรกประมาณบั้นปลายชีวิตของโสเครตีส งานเขียนในระยะนี้จะมีแนวความคิดคล้ายคลึงกับโสเครตีสมากที่สุด ซึ่งส่วน
ใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรม และความดี เช่น เลกีส (Leges) เป็นเรื่องราวของการค้นคว้าหาความกล้า ไลสีส (Lysis)
เป็นเรื่องราวของการค้นหามิตรภาพ และคาร์มีดีส (Charmedes) นอกจากนี้เพลโตยังได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวประวัติของ
โสเครตีสและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกรุงเอเธนส์

           ระยะที่สองคือช่วงที่เขาออกเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะมีหลากหลายลักษณะ เนื่องจากเขาได้รับอิทธิพล
ทางความคิดจากนักปรัชญาหลายท่าน และในช่วงนี้เองที่เขาได้ตั้ง ทฤษฎีที่ว่าด้วย แบบ (Theory of Forms) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่
มาจากแนวความคิดของโสเครตีสที่ว่า ความรู้ทั้งปวงมาจากแบบ ละทฤษฎีที่ว่าด้วยแบบนี้เป็นหัวใจหลักของปรัชญาทั้งหมดของ
เพลโต แต่ทฤษฎีของเพลโตแตกต่างจากโสเครตีส เนื่องจากเพลโตนำมาขยายเนื้อหาทางอภิปรัชญาที่กว้างขวางขึ้น โดยแบบของ
เพลโตมีความเป็นอิสระและอยู่เหนือจิต เขาได้นำหลักปรัชญานี้มาจากการพิจารณาความเป็นไปของธณรมชาติอีกส่วนหนึ่ง และ
ทฤษฎีนี้ยังได้กำหนดแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ด้วย โดยเพลโตกล่าวว่า การรับรู้จากสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และใจ จะแตกต่างกันไปตามความคิดหรือสถานการณ์นั้น เช่น การที่มองเห็นสัตว์ตัวหนึ่ง จะไม่สามารถบอกได้ว่ามันมีขนาดใหญ่
หรือเล็ก มันอาจจะมีขนาดใหญ่ถ้าไปเปรียบเทียบกับสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่า หรืออาจจะมีขนาดเล็กถ้าไปเปรียบเทียบกับสัตว์ที่มีขนาด
ใหญ่กว่า เป็นต้น และจากทฤษฎีข้างต้นเพลโตสรุปว่า โดยตัวของมันเองไม่มีสรรพสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ที่มีลักษณะแน่นอนตายตัว

           ผลงานในช่วงสุดท้ายของเพลโตเป็นสิ่งที่ชัดเจนมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์และความรู้ที่มากมายของเพลโต ภายหลัง
จากที่ตั้งสำนักอะเคดามีแล้ว ทำให้เขามีผลงานจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ปรัชญา จริยศาสตร์ การเมือง การศึกษา และวิทยาศาสตร์
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เขาได้นำมาถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ที่สถาบันอะเคดามี และงานชิ้นสำคัญที่สุดในช่วงนี้ก็คืองานเขียนที่ชื่อว่า รีพับลิค
(Republic) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองในความคิดของเพลโต แนวความคิดภายในหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นจากสภาพการเมือง
ในกรุงเอเธนส์ที่วุ่นวายอย่างมากในขณะนั้น หนังสือเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่มหนึ่ง
ทั้งในขณะนั้นและต่อมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ได้เป็นหนังสือเรียนในวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง
เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เป็นต้น

          กฎที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์อีกชิ้นหนึ่งของเพลโตคือ กฎที่เกี่ยวกับแสงที่ว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อแสงมากระทบวัตถุ
มุมแสงตกกระทบจะเท่ากับมุมแสงสะท้อน เป็นกฎที่ถูกต้องและยึดถือกันมาจนถึงปัจจุบัน เพลโตเสียชีวิตเมื่อ 347 ก่อนคริสต์ศักราช
แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่แนวความคิดและผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเขาก็มีอิทธิพลต่อนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ใน
ปัจจุบัน

โจเซฟ พริสต์ลีย์ : Joseph Priestly

ไม่มีความคิดเห็น :



เกิด        วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1738 เมืองลีดส์ (Leeds) รัฐยอร์คไชร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1804 ที่มลรัฐเพนน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United
             State of America)
ผลงาน  
 - ค้นพบก๊าซออกซิเจน (Oxygen)
             - ค้นพบก๊าซไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide)
             - ค้นพบก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide)
             - ค้นพบก๊าซไนตรัส (Nitrous air)
             - ค้นพบก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride)
             - ค้นพบก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia)
             - ค้นพบก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
             - ค้นพบก๊าซซิลิคอนไฮโดรฟลูออริก (Silicon hydrofluoric)
             - ค้นพบก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen air)
             - ค้นพบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
        ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่วิชาเคมีมีความเจริญมากที่สุดก็ว่าได้ มีนักเคมีที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เฮนรี่ คาเวนดิช
(Henry Cavendish) อังตวน ลอเรนต์ ลาวัวซิเยร์ (Anton Laurent Lavoisier) และคาร์ล วิลเฮล์ม เชล์เลอย์ รวมถึง โจเซฟ
พริสต์ลีย์ ผู้ซึ่งทำให้วิชาเคมีมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นด้วยการค้นพบก๊าซชนิดต่าง ๆ มากมาย เช่นออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน
และแอมโมเนีย เป็นต้น วิชาเคมีถือได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้วิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกทั้งการค้นพบทางเคมีไม่ว่าจะเป็นการค้นพบ
ก๊าซ สารเคมี หรือแร่ธาตุ ต่างก็เอื้อประโยชน์ต่อวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นฟิสิกส์ ชีววิทยา สิ่งประดิษฐ์อุตสาหกรรม
หรือแม้แต่ทางการแพทย์ ต่างก็ได้นำการ้นพบทางเคมีมาใช้ประโยชน์โดยส่วนใหญ่ เช่น แพทย์ได้นำก๊าซไนตรัสหรือก๊าซหัวเราะ
มาใช้ทำให้ผู้ป่วยหมดสติระหว่างการผ่าตัด นำก๊าซไฮโดรเจนมาใช้ทำระเบิดอีกทั้งการพบก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์ซึ่งต่อมาพบว่า
เป็นก๊าซที่พืชใช้สังเคราะห์แสง และคายออกซิเจนออกมาสำหรับมนุษย์หายใจ แม้ว่าการค้นพบของพริสต์ลีย์ในช่วงแรกจะเป็นเพียง
การค้นพบชนิดต่าง ๆ ของก๊าซ แต่ยังไม่ทราบสมบัติและประโยชน์ของก๊าซชนิดนั้น ๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการนำทางให้ค้นพบ
ประโยชน์ในเวลาต่อมา

        พริสต์ลีย์เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1738 ที่เมืองลีดส์ รัฐยอร์คไชร์ ประเทศอังกฤษบิดาของเขาเป็นช่างตัดผ้าที่มีฝีมือมาก
คนหนึ่ง แม้ว่าฐานะของครอบครัวพริสต์ลีย์จะไม่ร่ำรวยมากนัก แต่บิดาของเขาต้องการให้เขาได้รับการศึกษาสูง ๆ หลังจากจบ
การศึกษาขั้นต้นแล้วพริสต์ลีย์ได้เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ ในมหาวิทยาลัยลอนดอน (London University) ในวิชา
อักษรศาสตร์ และปรัชญา ซึ่งเป็นวิชาที่เขาให้ความสนใจมาตั้งแต่เด็ก พริสต์ลีย์ต้องเรียนภาษากรีก ละติน และฮิบรู และเขาได้อ่าน
หนังสือที่เป็นภาษากรีก ละติน และฮิบรู จำนวนมากรวมถึงหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาละติน และภาษา
กรีก ทำให้เขาเกิดความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หลังจากจบการศึกษาแล้วพริสต์ลีย์ได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์
สอนภาษาศาสตร์และวรรณคดีให้กับสถาบันวอร์ริงตัน (Warrington Academy)

        พริสต์ลีย์มีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แต่เขามีความรู้ด้านนี้ไม่มากนัก จึงต้องศึกษาจากหนังสือ และผลงานทาง
วิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งในอดีต และในขณะนั้น แต่โชคดีที่เขาสามารถอ่านภาษาละติน และกรีกได้เป็น
อย่างดี ครั้งหนึ่งเขามีโอกาสได้พบกับเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) นักวิทยาศาสตร์และนักการเมืองคนสำคัญ
ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเดินทางมาอังกฤษ เพื่อศึกษาและดูงานด้านไฟฟ้า การสนทนาระหว่างพริสต์ลย์และแฟรงคลินทำให้
พริสต์ลีย์มีความสนใจในเรื่องไฟฟ้ามากขึ้น และเริ่มต้นศึกษาค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1776 พริสต์ลีย์ได้
ตีพิมพ์ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า History of Electricity หรือประวัติศาสตร์ไฟฟ้า เมื่อผลงานชิ้นนี้เผยแพร่ออกไป ทำให้
พริสต์ลีย์ได้รับการยกย่องและมีชื่อเสียงมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งกรุง
ลอนดอน (Royal Society of London)

        แม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นพริสต์ลีย์ก็ยังทำงานในสถาบันวอร์ริงตันอีกหลายปีต่อมาเข้าได้ลาออกและบวช เป็นนัก
บวชสอนศาสนาที่โบสถ์แห่งหนึ่งที่เมืองมิลล์ ฮลล์ (Mill Hill Chapel) ที่เมืองลีดส์ รัฐยอร์คไชร์ บ้านเกิดของเขานั่นเอง และใน
ระหว่างที่เขาได้ทำการทดลองทางเคมี และค้นพบก๊าซหลายชนิด ก๊าซชนิดแรกที่เขาค้นพบก็คือ ฟิกซ์แอร์ (Fix air) หรือที่รู้จัก
กันดีในปัจจุบันว่า คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) การที่พริสต์ลีย์ค้นพบก๊าซชนิดนี้ เนื่องจากบริเวณใกล้ ๆ กับที่พัก
ของเขามีโรงงานเบียร์ตั้งอยู่ ซึ่งภายในโรงงานมีพังหมักเบียร์จำนวนมากพริสต์ลีย์สังเกตพบว่ามีก๊าซบางชนิดระเหยออกมาจาก
ถังเบียร์ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่โจเซฟ แบลค (Joseph Black) ค้นพบ หลังจากนั้นเขาได้นำฟิกซ์แอร์มาทดสอบสมบัติ และพบว่า
ไม่ติดไฟ หลังจากค้นพบก๊าซ ชนิดแรกทำให้พริสต์ลีย์ หันมาสนใจเกี่ยวกับวิชาเคมีมากขึ้น และทำการทดลองหาก๊าซชนิดอื่นต่อไป
ต่อมาได้พบก๊าซเพิ่มอีกถึง 4 ชนิด ได้แก่ ไนโตรเจน ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide) ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเซอร์ฮัม
ฟรี เดวี่ (Sir Humphry Davy) ได้ค้นพบสมบัติเพิ่มเติมว่าถ้าสูดดมเขาไปในปริมาณหนึ่งจะทำให้หัวเราจึงเปลี่ยนชื่อก๊าซไนตรัส
เป็นก๊าซหัวเราะต่อมาเดวี่พบสมบัติเพิ่มเติมว่าถ้าสูดดมเข้าไปในปริมาณที่มากขึ้นไปอีก จะทำให้หมดสติได้ ก๊าซชนิดนี้ได้นำไปใช้ใน
วงการแพทย์ คือ ให้ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดหมดสิตเพื่อไม่ต้องทรมานระหว่างการผ่าตัด แต่การใช้ก็ต้องระมัดระวังอย่างมากเพราะถ้า
สูดดมมากเกินไปอาจจะทำให้เสียชีวิตได้และก๊าซอีกชนิดหนีงที่พริสต์ลีย์พบก็คือ ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chlride)

        ในปี ค.ศ. 1773 พริสต์ลีย์ได้รับเชิญจากวิลเลี่ยม ฟิตซมอริช - เปตตี้ เอิร์ลที่ 2 แห่งเชลเบิร์น (William Fitzmaurice Earl
II of Shellburne) เข้าทำงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ และครูสอนหนังสือของบุตรชายทั้ง 2 คน ของท่านเอิร์ล ณ คฤหาสน์
ตระกูลเชลเบิร์นที่เมืองวิลท์ไชร์ (Wiltshire) พริสต์ลีย์ตกลงในรับงานนี้เพราะเงินค่าตอบแทนปีละ 150 ปอนด์ และมีโอกาสใน
การทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งท่านเอิร์ลได้ให้โอกาสเขาอย่างเต็มที่สำหรับการทดลอง และในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นพริสต์ลีย์
ได้ติดตามท่านเอิร์ลออกเดินทางท่องเที่ยวในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นโอกาสอันดีพริสต์ลีย์ที่จะได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลาย
ท่าน และเมื่อเขาเดินทางถึงกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส เขามีโอกาสได้รู้จักกับนักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียง อังตวน ลอเรนต์
ลาวัวซิเยร์ (Anton Laurent Lavoisier) ทำให้เขาได้รับความรู้เกี่ยวกับเคมีมากมายหลายประการ

        หลังจากที่พริสต์ลีย์เดินทางกลับจากการติดตามท่านเอิร์ล เขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเคมีอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้เขา
สามารถแยกก๊าซได้อีกถึง 6 ชนิด ได้แก่ ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ซิลิคอนไฮโดร
ฟลูออริก (Silicon hydrofluoric) ก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen air) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) และ
Dephlogisticated air และในปีเดียวกันนั้นเขาได้ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Experiments and
Observations on different Kind of Air หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับการทดลอง และการค้นพบก๊าซของพริสต์ลีย์
เขาได้นำผลงานการค้นพบเสนอต่อราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ทางสมาคมได้รับรองผลงานการค้นพบของพริสต์ลีย์ในเดือน
มีนาคม ค.ศ. 1775 แต่ลาวัวซิเยร์เห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อ Dephlogisticated air เป็นออกซิเจน (Oxygen) และจากผลงานชิ้นนี้
ทางราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอนได้มอบเหรียบคอพเลย์ (Copley Medal) ให้กับพริสต์ลีย์

        ต่อมาในปี ค.ศ. 1779 พริสต์ลีย์ได้ลาออกจากท่านเอิร์ล และเดินทางไปยังเมืองเบอร์มิงแฮม (Birmingham) และก่อตั้งสมาคม วิทยาศาสตร์ขึ้นชื่อว่า สมาคมลูนาร์แห่งเบอร์มิงแฮม (Lunar Society of Birmingham) ส่วนสมาชิกของสมาคมแห่งนี้เรียกว่า
ลูนาร์ติคส์ (Lunartics) โดยมีพริสต์ลีย์ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของสมาคม สมาคมแห่งนี้ประกอบไปด้วยผู้มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น
เจมส์ วัตต์ (James Watt) ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ และเป็นเจ้าของกิจการผลิตเครื่องจักรอีรัสมัส ดาร์วิน (Erasmus
Darwin) นายแพทย์และกวีผู้มีชื่อเสียงและเป็นปู่ของชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin) นักธรรมวิทยาผู้มีชื่อ
เสียง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยบุคคลผู้มีชื่อเสียงในวงการอุตสาหกรรมจำนวนมาก เนื่องจากในการก่อตั้งสมาคมนี้มีจุดประสงค์
เพื่อให้การส่งเสริม และสนับสนุนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม แม้ว่าสมาคมแห่งนี้จะก่อตั้งขึ้นมาได้
ไม่นานนัก แต่ก็เป็นที่ยอมรับ และมีชื่อเสียงอยู่พอสมควร ทางสมาคมจะจัดให้มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ในวันพระจันทร์เต็มดวง
การที่สมาคมจัดประชุมในวันพระจันทร์เต็มดวง ก็ได้มาจากชื่อของสมาคมลูนาร์ แปลว่า พระจันทร์

        พริสต์ลีย์ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุข และทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งประมาณปี ค.ศ. 1790 ได้เกิด
การปฏิวัติขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจุดประสงค์ของคณะปฏิวัติมีความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และโค่นล้มสถาบันพระ
มหากษัตริย์ ในฝรั่งเศสแม้ว่าพริสต์ลีย์จะไม่ได้เป็นชาวฝรั่งเศสและไม่ได้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส แต่ให้การสนับสนุนคณะปฏิวัติอย่าง
ออกนอกหน้า สร้างความเกลียดชังให้กับชาวเบอร์มิงแฮมมาก และในคืนหนึ่งชาวเมืองกลุ่มหนึ่งได้บุกรุกเข้ามาในบ้านพักของเขา
ทำลายข้าวของและเผาบ้านของเขา แต่โชคดีที่พริสต์ลีย์และครอบครัวของเขาหนีออกมาได้ทัน พริสต์ลีย์ได้เดินทางหลบหนีไปยัง
เมืองวอร์เชสเตอร์ (Worchester) และเดินทางต่อไปยังกรุงลอนดอน จากนั้นจึงเดินทางไปอยู่ที่เมืองแฮนนีย์ (Hackney) และเข้า
ทำงาน เป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยแฮคนีย์ (Hackney College) แม้ว่าพริสต์ลีย์จะรอดชีวิตมาได้ แต่บ้านและผลงานทางวิทยาศาสตร์
ของเขาก็ถูกทำลายจนหมดสิ้นอีกทั้งเขายังถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นสมาธิของราชสมาคมแห่งกรุงลอนเดอนอีกด้วย

        ระหว่างปี ค.ศ.1792 - 1794 การเมืองภายในประเทศฝรั่งเศสกำลังรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ คณะปฏิวัติได้บุกรุกเข้าไปในพระราชวัง
และวังหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (King Louis XVI) โค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ นอกจาก
นี้คณะปฏิวัติยังได้สังหารพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางจำนวนมาก พริสต์ลีย์เห็นว่าถ้าเขายังอยู่ในอังกฤษต่อไปอาจจะได้รับอันตราย
ได้ ดังนั้นเขาจึงส่งบุตรชาย 3 คน ของเขาล่วงหน้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน จากนั้นเขาและภรรยาได้ทำหนังสือเพื่อขออนุญาต
ลี้ภัยทางการเมืองตามไปภายหลัง พริสต์ลีย์และภรรยาได้เดินทางถึงกรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1794

        เมื่อเขาเดินทางมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาพริสต์ลีย์ได้เดินทางต่อไปนังรัฐเพนน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania) เพื่อพบกับ
เบนจามินแฟรงคลิน เพื่อนเก่าของเขา ซึ่งให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดีพร้อมกับเสนอตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย
เพนน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania University) แต่พริสต์ลีย์ได้ปฏิเสธ เพราะเขาอายุมากแล้ว ต้องการที่จะพักผ่อนมากกว่า
พริสต์ลีย์ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอยู่กับครอบครัว และการค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป ต่อมาพบก๊าซชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด
และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมีก๊าซ (Father of Pneumatic Chemistry) พริสต์ลีย์เสียชีวิตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1804 ที่รัฐเพนน์ซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่เขาเสียชีวิตทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์
และเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาด้วย

ปีทาโกรัส : Pythagoras

ไม่มีความคิดเห็น :



เกิด        582 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองซามอส (Samos) ประเทศกรีซ (Greece)
เสียชีวิต 507 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองเมตาปอนตัม (Metapontum)
ผลงาน   - สร้างสูตรคูณหรือตารางปีทาโกเรียน (Pythagorean Table)
             - ทฤษฎีบทเรขาคณิตที่ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
                เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก"
             - สมบัติของแสง และการมองวัตถุ
             - สมบัติของเสียง
          ปีทาโกรัส เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของนักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางปีทาโกเรียน (Pythagorean Table)
และทฤษฎีบทในเรขาคณิตที่ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวก
ของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก" ซึ่งทฤษฎีทั้งสองนี้เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาจนปัจจุบันนี้

          ปีทาโกรัสเกิดเมื่อประมาณ 582 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองซามอส (Samos) ประเทศกรีซ ปีทาโกรัสเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ด้านคณิตศาสตร์ ทฤษฎีของเขาได้นำมาพิสูจน์และพบว่าถูกต้องน่าเชื่อถือและใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เนื่องจากปีทาโกรัสเป็นนัก
ปราชญ์ที่เกิดก่อนคริสต์ศักราชถึง 500 ปี ดังนั้นประวัติชีวิตส่วนตัวของเขาจึงไม่มีการบันทึกไว้มากนัก เท่าที่มีการบันทึกไว้พบว่า
เขาเป็นคนฉลาดหลักแหลม มีความสามารถ และเป็นที่นับถือของชาวเมืองมากทีเดียว เมื่อปีทาโกรัสอายุได้ 16 เขาได้เดินทางไป
ศึกษาวิชากับเทลีส (Thales) นักปราชญ์เอกคนแรกของโลก แม้ว่าเทลีสจะเป็นผู้ที่มีความรู้กว้างขวางในหลายสาขาวิชา และได้
ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้กับปีทาโกรัสจนหมดสิ้น แต่ปีทาโกรัสก็ยังต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอีก ดังนั้นในปี 529 ก่อน
คริสต์ศักราช ปีทาโกรัสจึงออกเดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เช่น อาระเบีย เปอร์เซีย อินเดีย และอียิปต์ตามลำดับ เขาได้กลับจากการ
เดินทางกลับเกาะซามอส และพบว่าเกาะซามอสได้อยู่ในความปกครองของโพลีเครตีส (Polycrates) และอีกส่วนหนึ่งได้ตกเป็น
ของเปอร์เซีย เมื่อปีทาโกรัสเห็นเช่นนั้น จึงเดินทางออกจากเกาะซามอสไปอยู่ที่เมืองโครตอน (Croton) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ
ประเทศอิตาลี และที่เมืองโครตอนนี้เองปีทาโกรัสได้ตั้งโรงเรียนขึ้น โรงเรียนของปีทาโกรัสจะสอนเน้นหนักไปในเรื่องของปรัชญา
คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ปีทาโกรัสได้กล่าวว่า "คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่มี
คณิตศาสตร์แล้ว ทุกอย่างก็จะไม่เกิดขึ้น" ข้อเท็จจริงข้อนี้ถือว่าถูกต้องที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การคำนวณหาระยะทาง
หรือแม้กระทั่งการประดิษฐ์เครื่องใช้ การค้นพบเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเขา ได้แก่ การพบเลขคี่ โดยเลข 5 เป็นเลขคี่ตัวแรกของโลก
และเลขยกกำลังสอง นอกจากนี้ปีทาโกรัสยังแบ่งคณิตศาสตร์ออกเป็น 2 สาขา คือ
         1. เลขคณิต ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเลข
         2. เรขาคณิต เป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปทรงต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม สามเหลี่ยม และหกเหลี่ยม เป็นต้น

         ซึ่งวิชานี้มีประโยชน์อย่างมากในทางสถาปัตยกรรม และทฤษฎีบทเรขาคณิตที่มีชื่อเสียงที่สุดของปีทาโกรัสก็คือ "ในรูปสาม
เหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบ
มุมฉาก"

         โรงเรียนของปีทาโกรัสมีผู้ให้ความสนใจส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนจำนวนมาก ทั้งพระมหากษัตริย์ ขุนนางราชสำนักและพ่อค้า
คหบดีที่มั่งคั่ง ผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ได้มีการตั้งชุมนุม โดยใช้ชื่อว่า "ชุมนุมปีทาโกเรียน (Pythagorean)" ซึ่งผู้ที่
จะสมัครเข้าชุมนุมปีทาโอกเรียนจะต้องมีความรู้ด้านคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี อีกทั้งจะไม่เผยแพร่ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้กับผู้ที่
ไม่ได้เป็นสมาชิกของชุมนุมชุมนุมปีทาโกเรียนมีบทบาทอย่างมากในเรื่องของวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น อีกทั้งเป็นชุมนุมแรกที่มีความ
เชื่อว่า โลกกลมและไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลอีกทั้งต้องโคจรอีกด้วย

          ปีทาโกรัสเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับโลกกลม และหมุนรอบตัวเองรวมถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาว
เคราะห์ ก็หมุนรอบตัวเองเช่นกัน ซึ่งทฤษฎีนี้ในเวลาต่อมานักดาราศาสตร์อย่างโคเปอร์นิคัส และกาลิเลโอ ได้นำมาพิสูจน์แล้วพบว่า
ทฤษฎีนี้ถูกต้อง

         ไม่เพียงแต่งานด้านคณิตศาสตร์เท่านั้นที่ปิทาโกรัสให้ความสนใจ เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องแสงด้วย การค้นคว้าของ
ปีทาโกรัสทำให้เขารู้ความจริงว่า มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นแสงสว่างได้ เพราะแสงสว่างเป็นเพียงอนุภาคเล็ก ๆ เท่านั้น แต่แสง
สว่างเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุ เนื่องจากแสงตกกระทบไปที่วัตถุ ทำให้วัตถุนั้นสะท้อนแสงมากระทบกับตาเรา
ดังเช่นที่เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์มีแสง ก็เพราะแสงจากดวสงอาทิตย์ที่ส่องไปยังดวงจันทร์และสะท้อนกลับมายังโลก
ทั้งที่ดวงจันทร์ไม่มีแสง แต่เราก็สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้

          นอกจากเรื่องแสงแล้ว ปิทาโกรัสได้ค้นพบเกี่ยวกับเรื่องเสียงด้วย การค้นพบของเขาสรุปได้ว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน
ของวัตถุ การพบความจริงข้อนี้เนื่องจากวันหนึ่งเขาได้เดินผ่านร้านตีเหล็กแห่งหนึ่ง ปีทาโกรัสได้ยินเสียงที่เกิดจากช่างตีเหล็กใช้
ค้อนตีแผ่นเหล็กแผ่นเหล็กนั้นสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเสียง

         ปีทาโกรัสเสียชีวิตเมื่อประมาณ 507 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองเมตาปอนตัม (Metapontum)

เบนจามิน ทอมป์สัน : Benjamin Thomson

ไม่มีความคิดเห็น :



เกิด        วันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1753 ที่เมืองโวเบิร์น (Woburn) แมสซาซูเซส (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา
             (United State of americal)
เสียชีวิต วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1814 ที่เมืองโอทิวอี (Auteuil) ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน
   - ก่อตั้งราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution)
             - ค้นพบสาเหตุของการเกิดความร้อน
             - เครื่องวัดอุณหภูมิการนำความร้อนของผ้า
             - สร้างเครื่องวัดความเข้มของแสง หรือโฟโตมิเตอร์ ของรัมฟอร์ด (Rumford's Photometer)


          ทอมป์สัน หรือที่รู้จักกันดีในนามของ เคานท์ รัมฟอร์ด (Count Rumford) เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1753 ที่เมือง
โวเบิร์นรัฐแมสซาซูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา มารดาของทอมป์สันส่งเขาไปทำงานเป็นพนักงานเสมียนตั้งแต่อายุ 13 ปี ในร้านขาย
สินค้าแห่งหนึ่งในเมืองซาเลม (Salem) เพราะมารดาต้องการให้เขารู้จักการค้าขาย และฐานะของครอบครัวที่แร้นแค้นทอมป์สัน
ทำงานอยู่ที่ร้านแห่งนี้ได้เพียง 3 ปี เท่านั้น ร้านค้าที่เขาทำงานอยู่นั้นเป็นอันต้องปิดกิจการอันเนื่องมาจากการคัดค้านการเก็บภาษีจาก
ร้านค้าอย่างรุนแรงของรัฐบาลอังกฤษแต่ทอมป์สันก็ยังโชคดี เพราะได้รับการติดต่อจากเจ้าของร้านค้าแห่งหนึ่งที่เมืองบอสตัน
ให้เข้าไปทำงานในร้านของเขา โดยเจ้าของร้านแห่งนี้เป็นเพื่อนเก่าของเจ้านายเขา ดังนั้น ทอมป์สันจึงได้เดินทางไปยังเมืองบอสตัน
และในระหว่างนี้เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องที่เขามีความสนใจมากที่สุด คือ เรื่องดินปืน ประทัด
และจรวด และการทดลองเกี่ยวกับจรวดครั้งหนึ่งของเขาก็ทำให้เขาถูกไล่ออกจากงาน เพราะจรวดส่งเสียงดังมาก อีกทั้งเขาไม่เอาใจ
ใส่เรื่องการทำงานเท่าไรนัก

         หลังจากที่ทอป์สันถูกไล่ออกจากงานแล้ว เขามีโอกาสได้พบกับนายแพทย์คนหนึ่งชื่อจอห์น เฮย์ (John Hay) ได้ชักชวนเขาไป
ทำงานด้วย ทำให้เขามีความรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์จากนายแพทย์ผู้นี้ ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่กับนายแพทย์ผู้นี้ เขาได้ใช้เวลาว่างส่วน
หนึ่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่เขาสนใจมากที่สุด เขาได้ศึกษาวิชาฟิสิกส์จาก
เพื่อนรุ่นพี่ผู้หนึ่งชื่อว่า ลอมมิ บอล์ดวิน (Loammi Baldwin) และเข้าฟังการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัย
ฮาร์วาร์ด (Harvard University) นอกจากนี้เขาได้ร่วมมือกับบาล์ดวินทดลองวิทยาศาสตร์ ต่อมาทอมป์สันได้ลาออกจากงานของ
นายแพทย์เฮย์และทำงานเป็นครูรับจ้างสอนหนังสือไปตามที่ต่าง ๆ และได้เข้าทำงานเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองคอนคอร์ด
(Concord) รัฐนิวแฮมป์เชียร์ (New Hampshire) จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1772 เขาได้รับเชิญให้เข้าเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่ง
หนึ่งที่เมืองรัมฟอร์ด รัฐแมสซาซูเซส จากบาทหลวงทิมอตี้วอล์คเกอร์ (Reverend Timothy Walker) ในขณะนั้นทอมป์สันมี
อายุเพียง 19 เท่านั้น และจากจุดนี้เองที่ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไป เมื่อเจอกับซาราห์ วอล์คเกอร์ (Sarah Walker) แม่หม้ายวัย 
30 ปี ผู้ร่ำรวยมหาศาล ซึ่งเป็นลูกสาวของบาทหลวงที่เชิญเขามานั่นเอง ต่อมาทอมป์สันได้แต่งงานกับซาราห์และลาออกจากงาน
เนื่องจากต้องมาดูแลทรัพย์สินให้กับซาราห์

         ตระกูลวอล์คเกอร์ถือได้ว่าเป็นตระกูลที่มีฐานะร่ำรวย และมีอิทธิพลมากในเมืองรัมฟอร์ด ซาราห์ได้ใช้ความสนิทสนมกับ
ข้าหลวงของรัฐ ได้ฝากฝังให้ทอมป์สันได้เข้าทำงานเป็นที่ปรึกษาของข้าหลวงปกครองรัฐ ต่อมาอีกเพียง 6 เดือน เท่านั้น เขาได้รับ
การแต่งตั้งให้เป็นพันตรีแห่งกองทหารอาสาสมัครแห่งนิวแฮมป์เชียร์ อีกทั้งเป็นที่โปรดปรานของท่านข้าหลวงอย่างมากทั้งหมด
นี้เนื่องมาจากความรู้ ความสามารถของเขา ที่ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอังกฤษ ด้วยความดีความชอบต่อมาไม่นาน
เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายทหารแห่งกองทัพบกอังกฤษ แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเขาได้รับตำแหน่งต่าง ๆ ด้วยการ
ประจบสอพลอ งานอีกอย่างหนึ่งที่ทอมป์สันทำ คือ การเป็นสายลับให้กับกองทัพอังกฤษ เนื่องจากในขณะนั้นกองทัพกู้อิสระภาพ
กำลังทำการต่อต้านกองทัพอังกฤษอยู่ในปี ค.ศ. 1774 ทอมป์สันถูกจับกุมไปสอบสวนจากกองทัพกู้อิสรภาพ เนื่องจากเขาถูกต้อง
สงสัยว่าเป็นสายลับและนำความลับของกองทัพกู้อิสรภาพไปบอกแก่รัฐบาลอังกฤษ แต่กองทัพกู้อิสรภาพก็ต้องปล่อยตัวเขาออกมา
เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกเกลียดชังจากชาวเมืองเป็นอันมาก ดังนั้นเขาจึงหนีไปอยู่ที่เมืองบอสตัน และ
ได้เข้าทำงานกับนายพลเกจ (General Gage) แม่ทัพแห่งกองทัพอังกฤษที่ทำการปกครองสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
ในขณะนั้น โดยทอมป์สันมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่มีพฤติกรรมต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ แต่การส่งเอกสารในขณะนั้นจะได้รับการ 
ตรวจสอบอย่างละเอียดจากองทัพกู้อิสรภาพ แต่เอกสารของทอมป์สันสามารถผ่านมาได้อย่างสบาย เนื่องจากเขาใช้หมึกชนิดพิเศษ
ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

         ในปี ค.ศ. 1776 กองทัพกู้อิสรภาพได้ทำการยึดเมืองต่าง ๆ คืนได้เป็นผลสำเร็จหลายเมืองรวมถึงเมืองบอสตันที่ทอมป์สันหนี
ไปอยู่หลังจากที่หายป่วยจากโรคไทฟอยด์ กองทัพอังกฤษได้ถอนกำลังออกจากเมืองบอสตันกลับอังกฤษ ซึ่ง ทอมป์สันได้หนีมากับเรือ
นี้ด้วย เมื่อมาถึงกรุงลอนดอนทอมป์สันได้เข้าทำงานเป็นเลขานุการของท่านลอร์ดจอร์จ เยอเมน (Lord George Germain) 
ครั้งหนึ่งเขาได้รับคำสั่งให้ทดลองอานุภาพการระเบิดของดินปืน ทอมป์สันได้ดัดแปลงเครื่องมือทดสอบแรงระเบิด ทำให้เขาได้รู้ เพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงระเบิดว่า แรงของระเบิดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับก๊าซที่เกิดจากเผาไหม้อย่างเดียว หรือจำนวนดินปืนที่ใช้ในการจุด
ระเบิด แต่ขึ้นอยู่กับความไวในการเผาไหม้ของดินปืนอีกด้วย ทอมป์สันได้นำผลงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อว่า An Account 
of Some Experiment Upon Gun Power และจากผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1781 เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
ของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London)

         ในปี ค.ศ. 1783 เขาได้รับการชักชวนจากเจ้าชายแมกซิมิเลียน (Prince Maximilian) ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารประจำ
กองทัพ เจ้าชายได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้กับทอมป์สันไปส่งให้กับ คาร์ล ทีโอดอร์ (Karl Theodore) ผู้ปกครองแคว้น
บาวาเรีย (Elector of Bavaria) ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในประเทศเยอรมนี แต่ก็ยังคงทำงานให้กองทัพอังกฤษอยู่ โดยทอมป์สัน
มีหน้าที่ส่งข่าวสารความเคลื่อนไหวให้กับรัฐบาลอังกฤษ ทอมป์สันเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับกองทัพของบาวาเรีย อย่างมาก
เขาได้ปรับปรุงกองกำลังที่ไร้สมรรถภาพให้มีกำลังแข็งแกร่งเช่นเดิมทอมป์สันสังเกตว่าทหารในกองทัพมีสภาพอ่อนแอไม่เข้มแข็ง
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากสาเหตุ 2 ข้อคือ เครื่องแบบทหารที่ไม่เหมาะสมกับอากาศที่ร้อนในภูมิภาคนั้น และอาหารที่ไม่มี 
คุณภาพ เขาได้ค้นคว้าหาเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับทหาร และในการทดลองครั้งนี้เข้าได้สร้างเครื่องวัดอุณหภูมิการนำความร้อนของผ้า 
จากผลการทดสอบพบว่าผ้า ใยสังเคราะห์ เป็นผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนที่สุด เนื่องจากสามารถระบายอากาศได้ดีกว่าผ้า
ชนิดอื่น ส่วนผ้าขนสัตว์เป็นผ้าที่ไม่เหมาะสมที่สุดเพราะไม่สามารถระบายความร้อนได้ แต่เหมาะสมกับอากาศหนาวมากกว่า หลัง
จากนั้น เขาได้ขออนุมัติเงินจากรัฐเพื่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องแบบทหารขึ้น ทางรัฐได้อนุมัติเงินซึ่งคนงานในโรงงานแห่งนี้
ทอมป์สันได้รับคนจรจัดที่ไม่มีอาชีพเข้ามาทำงาน ส่วนบุตรหลานของคนเหล่านี้เขาได้จัดสร้างโรงเรียนเพื่อเด็กทุกคนจะได้รับการ
ศึกษาที่เท่าเทียมกัน 

         ส่วนเรื่องอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ทอมป์สันได้ทำการตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิดว่าชนิดใดเหมาะสมกับการ
เลี้ยงคนจำนวนมาก เขาได้พบว่าซุปคืออาหารที่มีประโยชน์ และราคาถูกเหมาะสมกับการเลี้ยงดูคนจำนวนมาก แต่ซุปจะต้องประกอบ
ไปด้วย ข้าวบาร์เลย์ ถั่ว มันฝรั่ง เกลือ ขนมปัง น้ำส้ม และน้ำ เมื่อคิดสูตรอาหารได้แล้ว ปัญหาที่ตามก็คือ เตาที่ใช้ในการปรุงอาหาร
จำนวนมาก ดังนั้นทอมป์สันจึงได้สร้างเตาซึ่งมีปล่องไฟสำหรับถ่ายเทอากาศ และช่วยในการลุกไหม้ได้ดีด้วย เรื่องต่อมาที่ทอมป์สัน
ได้ปรับปรุง คือ สภาพบ้านเรือน และโรงงานที่มืดเกินไปไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน เนื่องจากมีหน้าต่างน้อย และวัสดุที่ให้แสง
สว่างไม่มีคุณภาพพอ ทอมป์สันได้สร้างเครื่องมือสำหรับวัดความเข้มของแสงที่เหมาะสมกับการทำงานเรียกว่า "โฟโตมิเตอร์ของ
รัมฟอร์ด (Rumford's Photometer)" จากเครื่องมือชนิดนี้เขาพบว่าตะเกียงให้แสงสว่างได้ดีกว่าเทียน แต่ตะเกียงน้ำมันพืชที่
ใช้กันอยู่มักมีเขม่าเกาะที่ปล่องแก้วทำให้ได้แสงสว่างได้น้อยลง ดังนั้นทอมป์สันจึงปรับปรุงโดยการเจาะรูให้อากาศเข้าไปช่วยในการ
ลูกไหม้ ให้ดีขึ้น และมีเขม่าน้อยลง จากผลงานต่าง ๆ ที่เขาสร้างขึ้นให้กับแคว้นเบาวาเรียนเขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้เขามีหน้าที่ดูแลกรมวัง และกรมตำรวจอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 ลีโอโปด
จักรพรรดิเยอรมนีสวรรคตฟรานซิสได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิและแต่งตั้งคาร์ล ทีโอดอร์ ขึ้นเป็นอุปราช และทอมป์สันในฐานะที่ปรึกษา
คนสนิทได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท่านเคานท์ ชื่อว่า เคานท์ รัมฟอร์ด (Count Rumford)

         ในปี ค.ศ. 1793 เขาได้เดินทางกลับมาจากการพักผ่อนที่ประเทศอิตาลี และได้เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในเรื่อง
เกี่ยวกับทฤษฎีแคลอริก (Caloric Theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความร้อนที่ว่า "ความร้อนเป็นของไหลชนิดหนึ่งที่ไม่มีน้ำหนัก
และไม่สามารถมองเห็นได้แคลอริกนี้จะไหลเข้าไปในวัตถุเมื่อวัตถุมีความน้อนและจะไหลออกเมื่อวัตถุนั้นเย็น เช่น เมื่อต้มน้ำสาเหตุ
ที่น้ำร้อนก็คือแคลอริกหรือความร้อนไหลจากไฟไปสู่น้ำ และเมื่อน้ำเย็นก็คือแคลอริกไหลออกมานั่นเอง" ซึ่งทอมป์สันไม่เชื่อถือทฤษฎี
ข้อนี้เลย เนื่องจากเขาสังเกตุพบตั้งแต่แม่เขาทำงานเป็นผู้อำนวยการสร้างปืนใหญ่ที่เมืองมิวนิค เขาได้สร้างปืนใหญ่ขึ้นเพื่อให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้นและเมื่อเขาใช้สว่านเจาะรูกระบอกปืนใหญ่ที่เป็นทองเหลือ ปรากฏว่าขี้สว่านและลำปืนเกิดมีความร้อนเกิดขึ้น
แต่ขี้สว่านมีความร้อนน้อยกว่า ซึ่งตามทฤษฎีแคลกริกแสดงว่าความร้อนจะต้องไหลมาจากขี้สว่าน ดังนั้นทอมป์สันจึงทำการทดสอบ
ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ โดยการนำสว่านไปเจาะแท่งทองเหลือง จากนั้นนำขี้สว่านและแท่งทองเหลืองแช่ลงในอ่างน้ำพร้อมกัน
ปรากฏว่าเมื่อวัดอุณหภูมิจากอ่างทั้ง 2 ใบ มีอุณหภูมิเท่ากันเพราะฉะนั้นความร้อนต้องไม่ได้มาจากขี้สว่าน ทอมป์สันได้ทำการทดลอง
ต่อไป โดยการใช้น้ำหล่อขณะที่ทำการเจาะรูกระบอกปืนปรากฏว่าน้ำที่หล่อมีความร้อนมากขึ้นจะกระทั่งเดือด เขาทำการทดลอง
ซ้ำอีกหลายครั้งจนมั่นใจทอมป์สันได้สรุปสาเหตุของการเกิดความร้อนในครั้งนี้ว่า "เกิดจากการเสียดสีของสว่านและตัวโลหะคือ
กระบอกปืน และความร้อนเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการสั้นสะเทือนของวัตถุ ไม่ใช่เป็นสสารอย่างที่เข้าใจกันมา" แต่ผลงาน
ชิ้นนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไรนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1850 เจมส์ เพรสคอท จูล (James Prescott Joul) ได้นำหลักการอันนี้ ของทอมป์สันไปทำการทดลองเกี่ยวกับพลังงานกลที่เปลี่ยนเป็นพลังงามความร้อน ซึ่งทำให้ทฤษฎีความร้อนของทอมป์สันเป็นที่ ยอมรับไปด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาได้ประโยชน์จากการทดลองครั้งนี้คือ ในระหว่างที่เขาเจาะรูกระบอกปืนแล้วใช้น้ำหล่อขณะ
เจาะ ทำให้ปืนมีความเสียหายน้อยลง อีกทั้งได้ปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

         ในปี ค.ศ. 1795 ทอมป์สันได้เดินทางกลับประเทศอังกฤษเพื่อนำผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เขาได้ทำการทดลองลงตีพิมพ์
ในวารสารของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน โดยใช้ชื่อเรื่องว่า Proceeding of the Royal Society ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับ
ความนิยมและยกย่องมากชิ้นหนึ่งในระหว่างที่เขาอยู่ในอังกฤษเขาได้แก้ไขปัญหาเตาผิงที่มีควันมาก อีกทั้งสิ้นเปลื้องพลังงาน
ทอมป์สันได้แก้ไขปัญหาโดยการสร้างปล่องไฟ เพื่อช่วยในการระบายควัน และให้อากาศเข้ามาช่วยในการลุกไหม้ ทำให้สิ้นเปลือง
พลังงานน้อยลง แต่ทอมป์สันอยู่ในอังกฤษได้เพียงปีเศษก็ต้องเดินทางกลับแคว้นบาวาเรียอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเกิดสงครามระหว่าง
ออสเตรียและฝรั่งเศสขึ้นเมื่อเดินทางมาถึงแคว้นบาวาเรีย เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพผู้มีอำนาจเต็มในการ
บัญชาการ เขาได้แก้ไขสถานการณ์ในขณะนั้นด้วยสันติวิธีเมื่อกองทัพของทั้งสองฝ่ายยกมาถึงเขาได้ขอร้องให้กองทัพทั้งสอง ตั้งทัพอยู่นอกกำแพงเมืองคนละด้าน จากนั้นเขาก็ออกเยี่ยมเยียนทหารทั้ง 2 ประเทศ สลับกันไปคนละวัน ในที่สุดเขาก็เจรจา
ให้ทหารทั้งสองยกทัพกลับไปได้

         อีก 2 ปี ต่อมา ทอมป์สันก็ต้องเดินทางกลับประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศ
เยอรมนี ในช่วงนี้เขาเกิดความท้อแท้ และต้องการใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบที่บ้านเกิดของเขาในสหรัฐอเมริกา แต่เขาก็ต้องผิดหวัง
เมื่อได้รับจดหมายตอบกลับมาว่า "รู้สึกจะเป็นการลำบากอย่างยิ่งในการที่สุภาพบุรุษผู้หนึ่งซึ่งหนีออกนอกประเทศโดยถูกกล่าวหา
ว่าเป็นจารกรรมจะกลับมาพักอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเดิมของตน" เขาจึงจำเป็นต้องอยู่ในอังกฤษต่อไป และในปี ค.ศ. 1801 เขาได้ร่วม
กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ไมเคิล ฟาราเดย์ และฮัมฟรี เดวี่ เป็นต้น ก่อตั้งราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution)
ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ สถาบันทางวิทยาศาสตร์แห่งนี้มีความสำคัญมาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจาก
สถาบันแห่งนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1799 ทอมป์สันได้ก่อตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์ขึ้นที่ มิวนิคชื่อว่า สถาบันบาวาเรียนแห่งมิวนิค (Bavarian
Academy at Municah)

         ในปี ค.ศ. 1802 ทอมป์สันได้เดินทางมาอยู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้แต่งงานกับแม่หม้ายมารี ลาวัวซิเยร์ (Mary
Lavoisier) ซึ่งเป็นภรรยาของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า อังตรวน ลอเรนต์ ลาวัวซิเยร์ (Anton Laurent Lavoisier) แต่ภาย
หลังก็ต้องเลิกรากันไป ทอมป์สันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่ง ทอมป์สันเสียชีวิตในวันที่ 
21 สิงหาคม ค.ศ. 1814 หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว เขาได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard
University) นอกจากนี้เขาได้มอบเอกสารทางการทหารให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาระลึกถึงประเทศบ้าน
เกิดอยู่เสมอ แม้ว่าผลงานของทอมป์สันจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ แต่เขาก็ได้รับการยกย่องว่า
เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความสามารถและฉลาดปราดเปรื่องมากผู้หนึ่ง อีกทั้งยังทำงานส่วนใหญ่เพื่อประชาชน

เออร์เนส รัทเธอร์ฟอร์ด : Ernest Rutherford

ไม่มีความคิดเห็น :



เกิด        วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ.1871 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand)
เสียชีวิต วันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1937 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน   - ค้นพบทฤษฎีอะตอม
             - ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี ค.ศ.1909 จากการค้นพบแอลฟาทำลายอะตอม และการศึกษากัมมันตภาพรังสี
             - สร้างเครื่องไฮโดรโฟน (Hydrophone)
             - ค้นพบทฤษฎีครึ่งชีวิต (Half Life) ของสารกัมมันตรังสี
        รัทเธอร์ฟอร์ดเกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ.1871 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ บิดาของเขาเป็นชาวสก๊อต มีอาชีพเป็นเกษตรกรทำ
ไร่ป่าน และมีโรงงานเกี่ยวกับป่าน ส่วนมารดาของเขาเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ เขาเริ่มการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียน
เนลสันคอสีเกทรัทเธอร์ฟอร์ดฉายแววความฉลาดหลักแหลมมาตั้งแต่ยังเด็กเขาสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์หลายชิ้นขึ้นตามหนังสือที่
เขาอ่าน เช่น กล้องถ่ายรูป ระมัดวิดน้ำและนาฬิกา เป็นต้น หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว เขาได้เรียนต่อที่วิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี่
ในประเทศนิวซีแลนด์ และสอบชิงทุนเพื่อเรียนต่อต่างประเทศได้ ดังนั้นในปี ค.ศ.1894 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ
เพื่อเข้าเรียนในวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขามีโอกาสได้เข้าทำงานใน
ห้องทดลองฟิสิกส์คาเวนดิช ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในตำแหน่งผู้ช่วยของเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John
Thomson) ในระหว่างเขาทำงานอยู่ในห้องทดลองคาเวนดิช เขามีโอกาสได้ทำวิจัย และงานวิจัยของเขาทำให้เขาได้รับปริญญา
โดยไม่ต้องเข้าเรียน หรือสอบตามหลักสูตร

        การค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในช่วยนั้น รัทเธอร์ฟอร์ดก็เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจ
งานด้านนี้ด้วย แต่เนื่องจากมีงานอื่นค้างอยู่เขาจึงยังไม่ได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง รัทเธอร์ฟอร์ดประดิษฐ์เครื่องดีเทคเตอร์
ชนิดหนึ่งได้ ต่อมาเข้าได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่สื่อสารชนิดไร้สายขึ้น และสามารถส่งข้อความได้ไกลกว่า 1 กิโลเมตร ต่อมาเขาทำการ
ค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าในอะตอม รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น

         ต่อมาเขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับรังสีที่เกิดจากธาตุยูเรเนียม ซึ่งรัทเธอร์ฟอร์ดคิดว่ารังสีนั้นน่าเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง ที่ไม่ใช่
เป็นเพียงแสงสว่างธรรมดาเท่านั้น และการค้นพบครั้งแรกของเขาก็เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1898 รัทเธอร์ฟอร์ดค้นพบรังสีที่แผ่ออกมาจาก
ธาตุยูเรเนียม 2 ชนิด คือรังสีคลื่นยาวที่ให้พลังงานต่ำ ซึ่งเขาเรียกว่า "รังสีเบต้า" และรังสีคลื่นสั้น ที่ให้พลังงานสูง เรียกว่า
"รังสีแอลฟา" และจากผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ.1899 รัทเธอร์ฟอร์ดได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ประจำ
มหาวิทยาลัยแมคกลีย์ มอนทรีล ประเทศแคนาดา

         ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อยูเรเนียม ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาตั้งใจไว้นานแล้วแต่ยังไม่มีโอกาส
จากการศึกษาค้นคว้ารัทเธอฟอร์ดพบว่า ยูเรเนียมสามารถแผ่กัมมันตภาพรังสีออกมาได้ โดยร่วมมือกับศาสตราจารย์รัทเธอร์ฟอร์ด
พบว่า ยูเรเนียมสามารถแผ่กัมมันตภาพรังสีออกมาได้ โดยร่วมมือกับศาสตราจารย์เคมีเฟรดเดอริค ดับบลิวซอดดี้ในการค้นคว้า ถึง
แม้ว่ารัทเธอร์ฟอร์ดจะมีห้องทดลอง และอุปกรณ์ที่ทันสมัย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการค้นคว้า ทำให้เขาต้องเขาค้นคว้าเกี่ยวกับ
ธาตุทอเรียมแทนจากการค้นคว้ารัทเธอร์ฟอร์ดพบว่า การแผ่รังสีของธาตุทอเรียม ไม่คงที่และเป็นสารที่พอจะหาได้ในพื้นโลก

         ในปี ค.ศ.1900 รัทเธอร์ฟอร์ดได้เดินทางกลับบ้านที่ประเทศนิวซีแลนด์ และได้แต่งงานกับแมรี่ นิวตัน จากนั้นไม่นานเขาก็ได
้เดินทางกลับประเทศแคนาดา และทำการทดลองเกี่ยวกับธาตุทอเรียมต่อไป และพบว่าการแผ่รังสีของสารที่ได้จากการแยกตัวของ
ทอเรียม เกิดจากอะตอมของสารนั้นนั่นเอง เขาได้เขียนรายงานเรื่องนี้ลงในนิตยสารชื่อว่า Philosophical Magazine

         รัทเธอร์ฟอร์ดยังคงทำการค้นคว้าการแผ่รังสีของสารกัมมันตภาพรังสีต่อไป และพบว่าการแผ่รังสีประกอบไปด้วยรังสีหลาย
ชนิด ชนิดหนึ่งของรังสีที่เคลื่อนไหวเร็วเป็นอนุภาคของประจุบวก รัทเธอร์ฟอร์ดเรียกรังสีชนิดนี้ว่า "รังสีแอลฟา" และเรียกอนุภาค
ว่า "อนุภาคแอลฟา" ต่อมาจึงพอว่าอนุภาคแอลฟาหนักเป็นสี่เท่าของอะตอมไฮโดรเจน ส่วนรังสีที่ 2 ที่พบ เป็นอนุภาคที่เร็วกว่าแผ่
พุ่งออกมาเป็นประจุชนิดลบ เรียกว่า "รังสีเบต้า" และอนุภาคที่ประกอบขึ้น เรียกว่า "อนุภาคเบต้า" และอนุภาคเบต้านี้เป็นอิเล็กตรอน
ซึ่งเครื่องที่รวดเร็วนั่นเองสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่รัทเธอร์ฟอร์ดค้นพบเกี่ยวกับธาตุกัมมันตรังสี คือ การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี
โดยการสลายตัวนี้จะเป็นไปตามระยะเวลา และเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนอะตอมที่มีอยู่ในสารกัมมันตรังสีเหล่านั้น หรือที่รู้จักกันดีใน
ชื่อทฤษฎีครึ่งชีวิต ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการค้นคว้าด้านธรณีวิทยาในการคำนวณหาอายุหรือความเก่าแก่ของแร่ หรือหินชนิด
ต่าง ๆ ได้ อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังล้มล้างทฤษฎีของลอร์ดเคลวินที่กล่าวเกี่ยวกับการเย็นตัวของโลกว่า ใช้เวลาเพียง 2-3
ล้านปีเท่านั้นแต่รัทเธอร์ฟอร์ดได้พิสูจน์ให้เห็นจากการทำให้แร่กัมมันตรังสีเกิดความร้อน และปล่อยให้เย็นตัวลง จากการเปรียบเทียบ
จากหลักการทางคณิตศาสตร์พบว่าโลกต้องใช้เวลานานกว่า 100 ล้านปี ในการเย็นตัว จากผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ.1903 รัทเธอร์ฟอร์ด
ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิดของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) และในปีต่อมา เข้าได้ตีพิมพ์หนังสือ
ออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า การแผ่รังสีของสารกัมมันตภาพ

         ในปี ค.ศ.1907 รัทเธอร์ฟอร์ดได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เพื่อทำการค้นคว้าเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม
โดยงานชิ้นนี้เขาได้เริ่มต้นจากการวัดการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีในขณะนั้นสามารถตรวจนับได้จากเปลวของแสง เมื่อการ
แผ่รังสีกระทบกับจอแสง ซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ และห้องก็ต้องมืดสนิท รัทเธอร์ฟอร์ดเห็นว่าวิธีการนี้เสียเวลามาก เขาจึง
สร้างเครื่องตรวจนับขึ้น โดยการทำหลอดที่มีอนุภาคแอลฟาหรือเบต้า เครื่องมือชนิดนี้จะจับอาการเต้นของเปลวแสง เครื่องมือ
ชนิดนี้ชื่อว่า ไกเกอร์เคาน์เตอร์ (Gyger Counter) ซึ่งตั้งตามชื่อฮันท์ ไกเกอร์ (Hunt Gyger) ผู้ช่วยชาวเยอรมัน ผู้ประดิษฐ์
เครื่องมือชนิดนี้ตามคำแนะนำของรัทเธอร์ฟอร์ด จากเครื่องมืออันนี้เขาสามารถนับการสลายตัวของเรเดียม 1 กรัมต่อวินาที
ได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว

         ในปี ค.ศ.1908 รัทเธอร์ฟอร์ดได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี จากผลงานการค้นคว้าสมบัติของสารกัมตมันภาพรังสีทางเคมี
ในปี ค.ศ.1904

         ในปี ค.ศ.1911 รัทเธอร์ฟอร์ดได้ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับการค้นพบนิวเคลียสออกมา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับนิวเคลียสว่า
นิวเคลียสมีขนาดเล็กกว่าอะตอมถึง 10,000 เท่า และในนิวเคลียสก็มีมวลของอะตอมเกือบทุกมวล ผลงานชิ้นนี้เกิดขึ้นจาก การทดลองให้อนุภาคของแอลฟาและเบต้าผ่านแผ่นทองคำบาง ๆ ก่อนจะเข้าหลอดวัด เขาพบว่ามีอนุภาคบางส่วนกระโดดเป็น
จังหวะจากแผ่นทองคำ ซึ่งน่าจะเกิดจากการกระทบกับแผ่นทองคำนั่งเอง เมื่อเป็นเช่นนี้รัทเธอร์ฟอร์ดจึงพยายามหาคำตอบ และทำ
การทดลองซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง จนในที่สุดก็พบว่า ส่วนที่กระทบกับโลหะก็คือ นิวเคลียส หรือแกนกลางของอะตอมนั่นเอง

        ผลงานของเขายังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัทเธอร์ฟอร์ดได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ
ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ในการสร้างเครื่องไฮโดรโฟน (Hydrophone) สำหรับฟังเสียงเรือดำน้ำของ
ฝ่ายศัตรู ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง รัทเธอร์ฟอร์ดได้กลับมาทำงานด้านวิทยาศาสตร์
และการค้นคว้าเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสี รังสีแอลฟา เบต้า และนิวเคลียส ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กัน และเกี่ยวโยงไปยังอะตอม
ของไนโตรเจน ซึ่งถือได้ว่ารัทเธอร์ฟอร์ดเป็นผู้บุกเบิกแนวทางให้กับนักฟิสิกส์รุ่นต่อมา ในช่วงบั้นปลายชีวิตของรัทเธอร์ฟอร์ด
เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คาเวนดิช (Cavendish Professor) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเกียรติอย่างมาก
สำหรับตัวเขา รัทเธอร์ฟอร์ดทำงานอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1937

คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ : Karl Wilhelm Scheele

ไม่มีความคิดเห็น :



เกิด        ค.ศ. 1742 ที่สตารล์สัน โพมีราเนีย ประเทศสวีเดิน
เสียชีวิต 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ประเทศสวีเดิน
ผลงาน
  - ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric)
            - ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine)
            - ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine)


         เชย์เลอร์เป็นนักเคมี 1 ใน 3 ของนักเคมีที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น อีก 2 ท่าน คือ เฮนรี่ คาเวนดิช (Henry Cavendish)
และโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestly) นักเคมีทั้ง 3 ค่อนข้างจะมีลักษณะงานค้นคว้าที่คล้ายกัน แต่แตกต่าง ๆ กันไปตาม
ธาตุที่ค้นพบ โดยเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่ค้นพบก๊าซไนโตรเจน และคลอรีน

         เชย์เลอร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1742 ที่ประเทศสวีเดิน บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่ค่อนข้างยากจนและต้องการให้เชย์เลอร์ดำเนิน
กิจการต่อ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์น้อยมาก แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนรักการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะ
หนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมี อีกทั้งเขามีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการปรุงยาอยู่หลายปีและหลายแห่ง เช่น ที่
โกเตเบิร์ก (Goteburg) มัลโม (Mulmo) สตอกโฮล์ม (Stockholm) อัปซาลา (Upsala) และโคปิง (Koping) ซึ่งทำ
ให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารเคมีมากขึ้น

         เชย์เลอร์ทำการทดลองด้านเคมีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเขาพบก๊าซพิษ (Poisonous) ซึ่งเขาค้นพบระหว่างการ
ทดลองทางเคมีครั้งหนึ่ง ก๊าซพิษที่ว่านี่คือ ก๊าซกรดพรัสซิค (Prussic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ กรดไซยาไนด์ ซึ่งเป็น
ก๊าซพิษที่มีฤทธิ์ร้านแรงมากถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิตได้แม้จะสูดดมเข้าไปเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้เชย์เลอร์ยังค้นพบสารเคมี
ชนิดใหม่อีกหลายชนิด เช่น กรดสารหนู (Arsenic acid) กรดออกซาลิก (Oxalic acid) กรดแลกติก (Lactic acid)
ซึ่งสกัดได้จากนมเปรี้ยว ไฮโดรฟลูออริก (Hydrofluoric acid) กรดกำยาน (Benzoic acid) กรดมาลิก (Malic acid)
กรดมะนาว (Citric acid) กรดแกลลิก (Gallic acid) เป็นต้น ก๊าซที่สำคัญที่เชย์เลอร์พบมีอีกหลายชนิด ได้แก่
        - ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric) เป็นกรดปูนชนิดหนึ่ง ใช้ประโยชน์ในการทำน้ำส้ม 
        - ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine) มีสีเขียวปนเหลือง และมีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในการใช้เป็นสารฟอกสี และ
                  ไนโตรเจน (Nitrogen)
        - ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine) ใช้ประโยชน์ในการทำวัตถุระเบิด, วิธีผสมยาฆ่าเห็ดรา ซึ่งประกอบไป
                  ด้วยสารหนู และสารประกอบระหว่างทองแดง (Copper) เชย์เลอร์ได้ตั้งชื่อยาฆ่าเห็ดราชนิดนี้ว่า ชาเลกรีน 
                  (Scheel's Green), พบก๊าซมีเทน (Methane) เป็นสารประกอบของไฮโดรคาร์บอน (Hydro carbon) 
                  กับอัลเลน ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ติดไฟได้ มีประโยชน์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก, ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia)
                  ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างไนโตรเจน และไฮโดรเจน แอมโมเนียเป็นก๊าซที่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน ใช้ประโยชน์ในทาง
                  อุตสาหกรรมไฟฟ้า และใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ อีกทั้งมีประโยชน์ในทางการแพทย์

         จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขาในปี ค.ศ. 1775 เชย์เลอร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งเมืองสตอกโฮม (Stockholm Academy of Science) และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
เชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่มีความพยายาม เขาสามารถค้นพบสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากมายเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 
ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 44 ปี เท่านั้น